ครีมหายไปไหน บรรจุภัณฑ์ตัวต้นเหตุ

หลายคนที่คนทำครีมไปขายผู้บริโภค
อาจจะเคยเจอปัญหาที่ถูกลูกค้าต่อว่า
เรื่องปริมาณครีมที่ได้รับดูน้อยกว่าที่แจ้ง
หรืออาจจะถูกตั้งคำถามประหลาดว่า “ครีมหายไปไหน?”
ปัญหาส่วนหนึ่ง เกิดจากการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ
ครีมที่ขายในตลาดส่วนใหญ่ ใช้บรรจุภัณฑ์โรงงานจีนที่ไม่ค่อยมีคุณภาพสักเท่าไหร่
(โรงงานดียังมีอยู่ ต้องตามหากันดูนะครับ)
ตลาดบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางประเทศไทย
มีแค่ 2 เจ้าที่เป็นยักษ์ใหญ่ ทำธุรกิจในรูปแบบซื้อมาจากจีน
ขายส่งให้คนไทยเป็นลูกโซ่ ขายกันปีนึงเป็นพันล้านเลยนะจ๊ะ
เรื่องคุณภาพไม่ต้องสืบ ผมเก็บข้อมูลจากการตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ ก่อนการผลิต
พบว่ามีของเสีย (Defect) มากกว่า 10% (ให้อารมณ์แบบว่า นี่กรุซื้อกระปุกมาเพื่อทิ้งหรอเนี่ย)
เพื่อไม่ให้เป็นการตัดสินใจเลือกกระปุกผิดคิดจนตัวตาย
เลยเอาเรื่องการตรวจสอบการรั่วซึม (Leak Test) มานำเสนอ
เพราะบางครั้งการเลือกบรรจุภัณฑ์ก็เป็นตัวชี้วัดการเกิด
การดับ ของแบรนด์เครื่องสำอางได้เช่นกัน
การทดสอบการรั่วซึมแบบง่ายๆ
ให้เอาเนื้อครีมที่จะใช้ในการผลิตบรรจุลงกระปุกที่ต้องการตรวจสอบ
ตั้งทิ้งไว้ ตะแคง หรือเขย่า เพื่อดูการรั่วซึม ย้ำว่า ต้องเป็นครีมที่ใช้ในการผลิต
ใช้น้ำอย่างเดียวไม่ได้ครับ เพราะค่าความหนืด (Viscosity) ของครีมแต่ละชนิดไม่เท่ากัน
การตรวจสอบการรั่วซึมแบบผู้เชี่ยวชาญ
เอาเนื้อครีมที่จะใช้ในการผลิตบรรจุลงกระปุกที่ต้องการตรวจสอบ
แล้วใส่ในตู้อบ (Oven) (โรงงานที่เค้าใส่ใจเรื่องคุณภาพเค้าจะมีกันนะครับ
เราแจ้งให้เค้าตรวจสอบได้ครับ) กำหนดอุณหภูมิที่ 50 องศาเซลเซียส
หลังจากครบ 24 ชม. นำมาเขย่า ตั้ง หรือตะแคงทิ้งไว้เพื่อตรวจสอบการรั่วซึมได้นะครับ
เพราะบางครั้งที่อุณหภูมิสูงขึ้น ก็อาจจะทำให้เกลียว
ของบรรจุภัณฑ์คลายตัว และครีมมีโอกาสระเหยออกได้ครับ
ปล. เกณฑ์เรื่องระยะเวลาในการตรวจสอบ
แนะนำให้ปรึกษาทีมบริหารคุณภาพที่โรงงานได้เลยครับ
เพราะบรรจุภัณฑ์บางชนิด เค้าตรวจสอบกันที่ 7 วัน หรือมากกว่านั้นก็มีครับ